|
ออกหน่วยบริการฉีดวัคซีนป้องกัน โรคพิษสุนัขบ้า ม.2 บ้านแลแวะ และ ม.4 บ้านตะโละนิบง ( 23/ส.ค./2567 )
ออกหน่วยบริการฉีดวัคซีนป้องกัน
โรคพิษสุนัขบ้า ม.2 บ้านแลแวะ และ ม.4 บ้านตะโละนิบง
➖➖➖➖➖➖➖➖➖
เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2567 เวลา 09.00 น.-16.00 น.ภายใต้การอำนวยการของนายอามาลย์ ประทุมเทศ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตะโละแมะนา ได้มอบหมายให้นางสาวฮาสือน๊ะ ฮะแว หัวหน้าสำนักปลัด รักษาราชการแทนปลัด อบต.ตะโละแมะนา นางสาวนาปีสะ สาอิ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ นายรอซะ แอดะสง นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ นางสาวเปาซียะห์ สาแล เจ้าพนักงานธุรการ พนักงานจ้าง อบต. และอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 2และหมู่ที่ 4 พร้อมด้วยนายประจักร์ แกล้วกล้า ปศุสัตว์อำเภอทุ่งยางแดง และทีมงาน ออกหน่วยบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ตามโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒนวรขัตติยราชนารี
ณ - บ้านแลแวะ หมู่ที่ 2
- บ้านตะโละนิบง หมู่ที่ 4
ยอดฉีดวัคซีนแมว 5 ตัว
ผลการปฏิบัติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
|
|
|
|
ออกหน่วยบริการฉีดวัคซีนป้องกัน โรคพิษสุนัขบ้า ม.1 บ้านลูกไม้ไผ่และ ม.3 บ้านตะโละแมะนา ( 23/ส.ค./2567 )
ออกหน่วยบริการฉีดวัคซีนป้องกัน
โรคพิษสุนัขบ้า ม.1 บ้านลูกไม้ไผ่และ ม.3 บ้านตะโละแมะนา
➖➖➖➖➖➖➖➖➖
เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2567 เวลา 09.00 น.-16.00 น.ภายใต้การอำนวยการของนายอามาลย์ ประทุมเทศ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตะโละแมะนา ได้มอบหมายให้นางสาวฮาสือน๊ะ ฮะแว หัวหน้าสำนักปลัด นางสาวนาปีสะ สาอิ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ นายรอซะ แอดะสง นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ นางสาวเปาซียะห์ สาแลเจ้าพนักงานธุรการ พนักงานจ้าง อบต. และอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 1และหมู่ที่ 3 พร้อมด้วยนายประจักร์ แกล้วกล้า ปศุสัตว์อำเภอทุ่งยางแดง และทีมงาน ออกหน่วยบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ตามโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒนวรขัตติยราชนารี
ณ - ชุมชนหลังอำเภอ หมู่ที่ 1
- สีแยกบ้านลูกไม้ไผ่ หมู่ที่ 1
- บ้านตะโละแมะนา ณมัสยิดนูรุลอิสลาม หมู่ที่3
- บ้านบูเกะตางอ ณ มัสยิดนูรุลอิห์ซาน หมู่ที่ 3
ยอดฉีดวัคซีนแมว 22 ตัว สุนัข 49 ตัว และลิง1 ตัว
ผลการปฏิบัติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
องค์การบริหารส่วนตำบลตะโละแมะนา จัดโครงการวัดประชารัฐ สร้างสุข พร้อมใจกันแสดงพลังจิตอาสาจิตอาสา ฯ วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม 2567 เวลา 9:00 น. ( 15/ก.ค./2567 )
องค์การบริหารส่วนตำบลตะโละแมะนา
จัดโครงการวัดประชารัฐ สร้างสุข พร้อมใจกันแสดงพลังจิตอาสาจิตอาสา ฯ
วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม 2567 เวลา 9:00 น.
............................................................
นายอามาลย์ ประทุมเทศ นายกอบต.ตะโละแมะนา จัดโครงการวัดประชารัฐ สร้างสุข พร้อมใจกันแสดงพลังจิตอาสาจิตอาสาฯ โดยมี ผู้บริหาร สมาชิกสภาอบต. พนักงาน ลูกจ้าง อบต. หัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลตะโละแมะนา เจ้าหน้าที่ อสม อำเภอทุ่งยางแดง บุคลากรนักเรียนโรงเรียนบ้านแลแวะ อีหม่านมัสยิดดารุลเราะมัติ
เข้าร่วมโครงการวัดประชารัฐ สร้างสุข พร้อมใจกันแสดงพลังจิตอาสาจิตอาสา จิตสาธารณะในการทำกิจกรรม เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมฉลองพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ ประจำปี 2567
ด้วยวิธี 5 ส (Big cleaning day) ณ มัสยิดบ้านแลแวะ หมู่ 2 โรงเรียนตาดีกา และบริเวณใกล้เคียง
ผลการปฏิบัติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
|
|
|
|
เดินรณรงค์ให้ความรู้และป้องกันตนเองจากไข้เลือดออก ( 4/ก.ค./2567 )
วันที่ 4 กรกฎาคม 2567 เวลา 09.00 น. องค์การบริหารส่วนตำบลตะโละแมะนา ได้เดินรณรงค์ให้ความรู้และให้ประชาชนป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัดโดยการทายากันยุง ควบคู่กับการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย จะสามารถลดการแพร่เชื้อไข้เลือดออกในชุมชนได้
ไข้เลือดออก (Dengue fever) คือโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue virus) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรคสู่คนผ่านการกัดของยุงลายที่เคยกัดคนที่ติดเชื้อไวรัสเดงกี 1 ใน 4 สายพันธุ์ (DENV-1—DENV-4) ที่ทำให้เป็นโรคไข้เลือดออก ผู้ที่เป็นไข้เลือดออกอาจไม่มีอาการใด ๆ ไปจนถึงมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ อาเจียน มีจ้ำเลือดหรือจุดเลือดออกเล็ก ๆ ตามผิวหนัง ไข้เลือดออกรุนแรงอาจทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว ช็อก และเสียชีวิต ควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว
อาการไข้เลือดออกแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้
1. ระยะไข้สูง (Febrile phase) เป็นระยะที่ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสเดงกีมีไข้สูงลอยแบบเฉียบพลัน 39-40 องศาเซลเซียส ติดต่อกัน 2-7 วัน โดยมีอาการคล้ายไข้หวัดแต่ไม่มีอาการไอและไม่มีน้ำมูก และมักไม่ตอบสนองต่อยาลดไข้ ระยะไข้สูงมีอาการดังต่อไปนี้
ปวดศีรษะ หน้าแดง,ปวดเบ้าตา ,ปวดรอบกระบอกตา ,คลื่นไส้ อาเจียน,
ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ,เบื่ออาหาร, ปวดข้อ หรือปวดกระดูก,มีจ้ำเลือด หรือผื่นแดงขึ้นที่บริเวณผิวหนังร่างกาย อาจมีอาการปวดท้อง (บริเวณชายโครงขวา) กดเจ็บบริเวณลิ้นปี่
2. ระยะวิกฤต (Critical phase) เป็นระยะที่ 2 ของโรคไข้เลือดออกหรือประมาณ 3-7 วันหลังระยะไข้สูง ซึ่งผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่จะไม่ได้เข้าสู่ระยะนี้ ระยะวิกฤตเป็นระยะที่ต้องเฝ้าระวังมากที่สุด เนื่องจากอาจเกิดภาวะช็อกจากไข้สูง หรือช็อกจากอาการเลือดออกที่อวัยวะภายในที่เกิดจากสารน้ำในหลอดเลือดรั่วไหลออกนอกหลอดเลือด เช่น น้ำเหลืองรั่วไหลไปยังช่องปอด ตับ หรือช่องท้อง ทำให้ความดันโลหิตต่ำ ชัก หมดสติ และหัวใจหยุดเต้นที่นำไปสู่การเสียชีวิตในที่สุด ระยะวิกฤตมีอาการดังต่อไปนี้
ปวดท้องอย่างรุนแรง (บริเวณชายโครงขวา) ที่อาจมีสาเหตุจากภาวะตับโต (Hepatomegaly),คลื่นไส้ อาเจียนอย่างต่อเนื่อง, เบื่ออาหาร,ภาวะเลือดออกผิดปกติ,เลือดออกตามไรฟัน เลือดกำเดาไหล,ปัสสาวะหรืออุจจาระปนเลือด หรืออาเจียนเป็นเลือด,มีจ้ำเลือด หรือจุดเลือดออกเล็ก ๆ ตามผิวหนัง,
หายใจลำบาก, หายใจถี่เร็ว อาการกระสับกระส่าย กระวนกระวาย,เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย มีอาการซึม,มือเท้าเย็น ตัวเย็น มีเหงื่อออกตามตัว,ปัสสาวะน้อย
ชีพจรเบาเร็ว,ประจำเดือนมามาก หรือมานานผิดปกติ (ในเพศหญิง),ภาวะช็อกจากอาการขาดน้ำหรือเสียเลือด (Hypovolemic shock) ที่มักเกิดขึ้นใน 3-8 วันหลังจากที่มีไข้สูงลอย, ไข้ลดลดลงอย่างรวดเร็ว (มักเกิดพร้อม ๆ กับภาวะช็อก),เลือดออกในทางเดินอาหาร (มักเกิดร่วมกับภาวะช็อก),ความดันโลหิตไม่สม่ำเสมอ วัดชีพจรไม่ได้ หรือความดันโลหิตลดต่ำในผู้ที่มีอาการรุนแรง,ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว หรือภาวะช็อก (Dengue shock syndrome) อาจเสียชีวิต
3. ระยะฟื้นตัว (Recovery phase) เป็นระยะสุดท้ายของการเป็นไข้เลือดออก ผู้ที่ผ่านพ้นระยะไข้สูงที่ไม่ได้เข้าสู่ระยะวิกฤต หรือผู้ที่ผ่านพ้นระยะวิกฤตมาแล้ว 1 - 2 วันจะเข้าสู่ระยะฟื้นตัว เป็นช่วงที่ร่างกายค่อย ๆ ฟื้นตัว อาการต่าง ๆ ของโรคไข้เลือดออกค่อย ๆ ดีขึ้นตามลำดับ เส้นเลือดกลับมาทำงานตามปกติ โดยหากสังเกตเห็นผื่นแดงสาก ๆ เป็นวงสีขาวขึ้นตามร่างกายแสดงว่ากำลังจะหายจากโรค เป็นระยะที่มีความปลอดภัย ระยะฟื้นตัวมีสัญญาณดังต่อไปนี้
อาการทั่วไปดีขึ้นตามลำดับ,ไข้ลดลง อุณหภูมิร่างกายเป็นปกติ,ชีพจรเต้นแรงขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น,ปัสสาวะออกมากขึ้น,ภาวะตับโตลดลงภายใน 1-2 สัปดาห์,อยากรับประทานอาหารมากขึ้น,มีผื่นสีแดงเล็ก ๆ สาก ๆ เป็นวงสีขาวขึ้นตามร่างกาย
*การป้องกัน ไข้เลือดออกมีวิธีการอย่างไร?
1. ป้องกันตนเองไม่ให้ยุงกัด เช่น การทายากันยุง สวมใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว และสวมถุงเท้า หรือการใส่เสื้อผ้าที่มีการเคลือบสารกันยุง
2. ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารป้องกันยุง (Mosquito repellents) ที่มีส่วนผสมของสาร DEET เพื่อป้องกันยุง
3. กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยเฉพาะบริเวณน้ำนิ่งและน้ำขัง ทั้งในและรอบบริเวณบ้าน ใช้ฝาปิดครอบภาชนะหรือถังขยะ
4. ปิดหน้าต่างไม่ให้ยุงเข้า ติดมุ้งลวดที่ประตู หรือนอนในมุ้งลวดเพื่อกันยุง
5. การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออก 4 สายพันธุ์ ชนิดใหม่ (New 4 serotype dengue fever vaccine) ซึ่งเป็นวัคซีนป้องกันไวรัสเดงกีรุ่นล่าสุดที่ถูกพัฒนาให้สามารถป้องกันได้ครอบคลุมทั้ง 4 สายพันธุ์ โดยสามารถเข้ารับการฉีดได้ตั้งแต่อายุ 4-60 ปี ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายเป็นปกติ รวมถึงคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานอายุตั้งแต่ 4 ปี ขึ้นไป สามารถพาบุตรหลานและทุกคนในครอบครัวเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกได้ที่โรงพยาบาลทุกแห่งที่มีวัคซีนไว้คอยบริการ
*การปฐมพยาบาลไข้เลือดออกเบื้องต้น มีวิธีการอย่างไร?
1. ทานยาแก้ปวด ลดไข้กลุ่มพาราเซตามอน หรือ ยาอะเซตามีโนเฟน ห้ามทานยาแอสไพริน ไอบูโพรเฟน หรือยากลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) เพราะอาจทำให้มีเลือดออกมากขึ้น
2. จิบน้ำเกลือแร่โอ อาร์ เอส (ORS) เพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำในร่างกาย โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการอาเจียนอย่างต่อเนื่อง
3. เช็ดตัวเป็นระยะด้วยน้ำอุ่น เพื่อช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย
4.ทานอาหารอ่อน อาหารที่ย่อยง่าย และดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ
5.หมั่นสังเกตอาการ หากมีไข้ขึ้นสูง และไม่ตอบสนองต่อยาแก้ปวด ควรรีบพบแพท
|
|
|
|
เดินรณรงค์ให้ความรู้และป้องกันการคลอดก่อนกำหนด ประจำปี 2567 ( 4/ก.ค./2567 )
วันที่ 4 กรกฎาคม 2567 เวลา 09.00 น. องค์การบริหารส่วนตำบลตะโละแมะนา ร่วมเดินรณรงค์ให้ความรู้และป้องกันการคลอดก่อนกำหนด ประจำปี 2567
@การป้องกันการคลอดก่อนกำหนด การคลอดก่อนกำหนดเป็นหาสำคัญทางด้านอนามัยของแม่และเด็ก แม้ว่าความเจริญทางการแพทย์จะสามารถช่วยให้เด็กที่คลอดออกมาก่อนกำหนดมีชีวิตอยู่รอดได้มากขึ้นกว่าในอดีต แต่ก็ยังพบว่ามีทารกอีกจำนวนมากที่มีความพิการหรือเสียชีวิต จึงมีความจำเป็นที่จะต้องป้องกันไว้ก่อน ดังนี้
1. ส่งเสริมสุขภาพของคุณแม่ให้ดีก่อนการตั้งครรภ์ เช่น ตั้งครรภ์ในอายุที่เหมาะสม (18-34 ปี),ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ,ดูแลตัวเองให้แข็งแรงเพื่อป้องกันโรคที่มีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด
2. เมื่อตั้งครรภ์แล้วควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อฝากครรภ์และปฏิบัติตนตามที่ได้รับคำแนะนำ รวมถึงไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้งอย่างสม่ำเสมอ
3. ในขณะตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ, งดสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์, หลีกเลี่ยงความเครียด, ลดการทำงานหนักหรือออกกำลังกายเป็นเวลานาน ๆ หรือยกของหนัก, ไม่เดินทางไกลหากไม่จำเป็น รวมถึงปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับผลกระทบของงานที่ทำอยู่ว่ามีผลต่อการคลอดก่อนกำหนดหรือไม่
4.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างสมดุล เป็นอีกวิธีที่ส่งผลดีต่อทั้งคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ แถมยังช่วยป้องกันการคลอดก่อนกำหนดได้ด้วย เพราะจากการศึกษาที่พบว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์น้อยหรือมีภาวะขาดสารอาหาร และมีการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวน้อยตลอดการตั้งครรภ์ จะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการคลอดก่อนกำหนด และยังพบว่าลักษณะนิสัยในการบริโภคอาหารและการได้รับอาหารเสริมในระหว่างการตั้งครรภ์ก็มีความสัมพันธ์กับการคลอดก่อนกำหนดด้วยเช่นกัน
5. ทานบ่อย ๆ นักวิจัยชี้ว่าสำหรับคุณแม่นั้นการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ยังไม่เพียงพอ แต่คุณแม่ควรรับประทานอาหารให้บ่อยครั้งมากขึ้น เป็นวันละ 5 ครั้ง โดยทานอาหารหลัก 3 มื้อ และอาหารว่างอีก 2 มื้อ หรือไม่ก็แบ่งอาหารเป็นมื้อเล็ก ๆ 5 มื้อ หากทำได้อย่างนี้ก็จะช่วยลดโอกาสเกิดการคลอดก่อนกำหนดได้
6. เสริมอาหารที่มีแคลเซียม นอกจากแคลเซียมจะมีส่วนช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและอาการแทรกซ้อนจากภาวะครรภ์เป็นพิษได้แล้ว การได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอในแต่ละวันยังช่วยป้องกันการคลอดก่อนกำหนดในผู้หญิงที่มีประวัติหรือมีความเสี่ยงสูงในเรื่องของโรคความดันโลหิตได้ด้วย คุณแม่จึงควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมให้เพียงพอในแต่ละวัน (โดยปกติแล้วคุณแม่ตั้งครรภ์ ร่างกายจะสูญเสียแคลเซียมวันละ 250 มิลลิกรัมไปในช่วงที่มีอายุครรภ์ 6-7 เดือน)
7. ดื่มน้ำเยอะ ๆ คุณแม่ควรดื่มน้ำได้วันละ 8 แก้ว หากอากาศร้อนหรือออกกำลังกายก็ควรจะดื่มน้ำให้มากขึ้นเพื่อรักษาความชุ่มชื่นของร่างกายและเพิ่มโอกาสให้คุณแม่อุ้มท้องจนถึงกำหนดคลอด เพราะการขาดน้ำจะทำให้เกิดการเจ็บท้องคลอดก่อนกำหนดได้เหมือนกัน
8. ทานวิตามินสำหรับการตั้งครรภ์ นอกจากจะช่วยให้คุณแม่และลูกน้อยในครรภ์แข็งแรงแล้ว ยังช่วยเพิ่มโอกาสให้คุณแม่อุ้มท้องจนครบกำหนดได้เช่นกัน แม้การกินวิตามินจะไม่สามารถทดแทนวิตามินจากการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ได้ แต่ก็ช่วยสร้างความสบายใจได้ว่าในแต่ละวันนั้นคุณแม่ได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนแล้ว
9. รักษาการติดเชื้อและการอักเสบต่าง ๆ เช่น เหงือกอักเสบ ฟันผุ ช่องคลอดอักเสบ การติดเชื้อในช่องคลอด ติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ ระบบทางเดินปัสสาวะอักเสบหรือมีตกขาวผิดปกติ มีอาการไอ เจ็บคอ ท้องเสีย ฯลฯ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้ทารกคลอดก่อนกำหนดอย่างรวดเร็วและเหมาะสม
10. ป้องกันการติดเชื้อของร่างกาย ด้วยการดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ไม่อั้นปัสสาวะ ควรถ่ายปัสสาวะทุก ๆ 2-4 ชั่วโมง เพราะการอั้นปัสสาวะบ่อย ๆ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะได้ อาการที่สังเกตเห็นได้อาจเป็นการสร้างความระคายเคืองต่อมดลูกและทำให้มดลูกบีบตัว นอกจากนี้ยังอาจทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ด้วย ควรดูแลรักษาสุขภาพช่องปากและฟัน เนื่องจากการอักเสบภายในช่องปาก เช่น โรคเหงือกอักเสบเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด คุณแม่จึงควรแปรงฟันให้สะอาดและใช้ไหมขัดฟันอยู่เสมอ
11. ระวังเรื่องน้ำหนักตัว น้ำหนักตัวของคุณแม่ในระหว่างตั้งครรภ์ที่เพิ่มมากเกินไปหรือน้อยเกินไป อาจเพิ่มปัจจัยเสี่ยงให้คุณแม่คลอดลูกก่อนกำหนดและลูกที่มีน้ำหนักตัวน้อยได้ คุณแม่จึงควรมีการเพิ่มน้ำหนักขึ้นในระดับที่เหมาะสม (โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 11.3-15.8 กิโลกรัม) แล้วคุณแม่จะมีแนวโน้มคลอดลูกได้ตามกำหนดคลอดและมีน้ำหนักตัวปกติ
12. พยายามหลีกเลี่ยงหรืองดมีเพศสัมพันธ์ เฉพาะในกรณีที่คุณแม่เคยมีประวัติการคลอดก่อนกำหนดมาก่อน โดยเฉพาะในช่วง 6 เดือนก่อนคลอด หลีกเลี่ยงการกระตุ้นหัวนม (เพราะทำให้เกิดความรู้สึกสุดยอด) เนื่องจากการมีเพศสัมพันธ์อาจเป็นสาเหตุทำให้มดลูกบีบตัว (เมื่อถึงจุดสุดยอดมักจะมีการเกร็งกล้ามเนื้อและมดลูกอาจหดรัดตัว) และยังอาจเป็นการนำเชื้อโรคเข้าสู่ปากมดลูกจนทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด หากมีเพศสัมพันธ์ควรใช้ถุงยางอนามัย เพราะน้ำอสุจิจะทำให้เกิดการหลั่งของสารเคมี “พรอสตราแกลนดิน” (Prostaglandins) ที่สามารถทำให้ปากมดลูกนุ่มขึ้นและกระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัว อย่างไรก็ตาม สารที่สร้างขึ้นมานี้ก็ไม่ได้มีมากพอจนทำให้คุณแม่เจ็บครรภ์คลอดได้ (ยกเว้นคนที่ใกล้จะคลอดอยู่แล้ว) คือไม่ได้ห้ามเสียทีเดียวครับ เพียงแต่คุณแม่ที่เคยคลอดก่อนกำหนดมาก่อนควรจะระวังหรือป้องกันเอาไว้
13. การใช้ยาลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อมดลูกตามที่สูติแพทย์แนะนำ เช่น Proluton depot ทุกสัปดาห์ ในช่วงการตั้งครรภ์ได้ 20-34 สัปดาห์กับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีเนื้องอกมดลูกหรือเคยมีประวัติการคลอดก่อนกำหนดมาก่อน 14. ทางเลือกอื่น เช่น การตรวจคัดกรองเพื่อดูว่าคุณแม่มีความเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนดหรือไม่, การใช้ฮอร์โมนเข้าช่วย เพราะมีงานวิจัยที่ระบุว่าฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนดในผู้หญิงที่เคยคลอดก่อนกำหนดได้ หากคุณแม่เคยคลอดก่อนกำหนดมาก่อน ควรลองปรึกษาแพทย์ดูครับว่าควรฉีดฮอร์โมนชนิดนี้หรือไม่ 15. หากมีปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้นควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสมและทันท่วงที หรือถ้าป้องกันแล้วยังเกิดการเจ็บครรภ์ก่อนกำหนดขึ้นอีก ก็ต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อให้ยาระงับการเจ็บครรภ์และให้การดูแลรักษาตามความเหมาะสมต่อไป
|
|
|
|
เดินรณรงค์ต่อต้านการทุจริต ประจำปี 2567 ( 4/ก.ค./2567 )
วันที่ 4 กรกฎาคม 2567 เวลา 09.00 น. องค์การบริหารส่วนตำบลตะโละแมะนา ร่วมเดินรณรงค์ต่อต้านการทุจริต ประจำปี 2567 โดยงดการให้ ไม่รับของขวัญในเทศกาลปีใหม่ และเทศกาลต่างๆ No Gift Policy งดรับของขวัญ ของที่ระลึก การเลี้ยงหรือประโยชน์อื่นใดในช่วงเทศกาลปีใหม่และในทุกโอกาส
|
|
|