[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
องค์การบริหารส่วนตำบลตะโละแมะนายินดีต้อนรับทุกท่านครับ
เมนูหลัก
เมนูทั่วไป
ข้อมูลการดำเนินงาน
Okvee Bootstrap sidebar menu
ลิ้งเว็บไซด์ที่เกี่ยวข้อง
ลิ้งหน่วยงานอื่นๆ
Social Network
QR Code Line
อบต.ตะโละแมะนา

  
รายการ Gallery หน้าหลัก    
>> เดินรณรงค์ให้ความรู้และป้องกันตนเองจากไข้เลือดออก ( 4/ก.ค./2567 )

     

วันที่ 4 กรกฎาคม 2567 เวลา 09.00 น. องค์การบริหารส่วนตำบลตะโละแมะนา ได้เดินรณรงค์ให้ความรู้และให้ประชาชนป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัดโดยการทายากันยุง ควบคู่กับการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย จะสามารถลดการแพร่เชื้อไข้เลือดออกในชุมชนได้
ไข้เลือดออก (Dengue fever) คือโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue virus) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรคสู่คนผ่านการกัดของยุงลายที่เคยกัดคนที่ติดเชื้อไวรัสเดงกี 1 ใน 4 สายพันธุ์ (DENV-1—DENV-4) ที่ทำให้เป็นโรคไข้เลือดออก ผู้ที่เป็นไข้เลือดออกอาจไม่มีอาการใด ๆ ไปจนถึงมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ อาเจียน มีจ้ำเลือดหรือจุดเลือดออกเล็ก ๆ ตามผิวหนัง ไข้เลือดออกรุนแรงอาจทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว ช็อก และเสียชีวิต ควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว
อาการไข้เลือดออกแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้
1. ระยะไข้สูง (Febrile phase) เป็นระยะที่ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสเดงกีมีไข้สูงลอยแบบเฉียบพลัน 39-40 องศาเซลเซียส ติดต่อกัน 2-7 วัน โดยมีอาการคล้ายไข้หวัดแต่ไม่มีอาการไอและไม่มีน้ำมูก และมักไม่ตอบสนองต่อยาลดไข้  ระยะไข้สูงมีอาการดังต่อไปนี้
ปวดศีรษะ หน้าแดง,ปวดเบ้าตา ,ปวดรอบกระบอกตา ,คลื่นไส้ อาเจียน,
ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ,เบื่ออาหาร, ปวดข้อ หรือปวดกระดูก,มีจ้ำเลือด หรือผื่นแดงขึ้นที่บริเวณผิวหนังร่างกาย อาจมีอาการปวดท้อง (บริเวณชายโครงขวา) กดเจ็บบริเวณลิ้นปี่
2. ระยะวิกฤต (Critical phase) เป็นระยะที่ 2 ของโรคไข้เลือดออกหรือประมาณ 3-7 วันหลังระยะไข้สูง ซึ่งผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่จะไม่ได้เข้าสู่ระยะนี้ ระยะวิกฤตเป็นระยะที่ต้องเฝ้าระวังมากที่สุด เนื่องจากอาจเกิดภาวะช็อกจากไข้สูง หรือช็อกจากอาการเลือดออกที่อวัยวะภายในที่เกิดจากสารน้ำในหลอดเลือดรั่วไหลออกนอกหลอดเลือด เช่น น้ำเหลืองรั่วไหลไปยังช่องปอด ตับ หรือช่องท้อง ทำให้ความดันโลหิตต่ำ ชัก หมดสติ และหัวใจหยุดเต้นที่นำไปสู่การเสียชีวิตในที่สุด ระยะวิกฤตมีอาการดังต่อไปนี้
ปวดท้องอย่างรุนแรง (บริเวณชายโครงขวา) ที่อาจมีสาเหตุจากภาวะตับโต (Hepatomegaly),คลื่นไส้ อาเจียนอย่างต่อเนื่อง, เบื่ออาหาร,ภาวะเลือดออกผิดปกติ,เลือดออกตามไรฟัน เลือดกำเดาไหล,ปัสสาวะหรืออุจจาระปนเลือด หรืออาเจียนเป็นเลือด,มีจ้ำเลือด หรือจุดเลือดออกเล็ก ๆ ตามผิวหนัง,
หายใจลำบาก, หายใจถี่เร็ว อาการกระสับกระส่าย กระวนกระวาย,เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย มีอาการซึม,มือเท้าเย็น ตัวเย็น มีเหงื่อออกตามตัว,ปัสสาวะน้อย
ชีพจรเบาเร็ว,ประจำเดือนมามาก หรือมานานผิดปกติ (ในเพศหญิง),ภาวะช็อกจากอาการขาดน้ำหรือเสียเลือด (Hypovolemic shock) ที่มักเกิดขึ้นใน 3-8 วันหลังจากที่มีไข้สูงลอย, ไข้ลดลดลงอย่างรวดเร็ว (มักเกิดพร้อม ๆ กับภาวะช็อก),เลือดออกในทางเดินอาหาร (มักเกิดร่วมกับภาวะช็อก),ความดันโลหิตไม่สม่ำเสมอ วัดชีพจรไม่ได้ หรือความดันโลหิตลดต่ำในผู้ที่มีอาการรุนแรง,ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว หรือภาวะช็อก (Dengue shock syndrome) อาจเสียชีวิต
3.  ระยะฟื้นตัว (Recovery phase) เป็นระยะสุดท้ายของการเป็นไข้เลือดออก ผู้ที่ผ่านพ้นระยะไข้สูงที่ไม่ได้เข้าสู่ระยะวิกฤต หรือผู้ที่ผ่านพ้นระยะวิกฤตมาแล้ว 1 - 2 วันจะเข้าสู่ระยะฟื้นตัว เป็นช่วงที่ร่างกายค่อย ๆ ฟื้นตัว อาการต่าง ๆ ของโรคไข้เลือดออกค่อย ๆ ดีขึ้นตามลำดับ เส้นเลือดกลับมาทำงานตามปกติ โดยหากสังเกตเห็นผื่นแดงสาก ๆ เป็นวงสีขาวขึ้นตามร่างกายแสดงว่ากำลังจะหายจากโรค เป็นระยะที่มีความปลอดภัย ระยะฟื้นตัวมีสัญญาณดังต่อไปนี้
อาการทั่วไปดีขึ้นตามลำดับ,ไข้ลดลง อุณหภูมิร่างกายเป็นปกติ,ชีพจรเต้นแรงขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น,ปัสสาวะออกมากขึ้น,ภาวะตับโตลดลงภายใน 1-2 สัปดาห์,อยากรับประทานอาหารมากขึ้น,มีผื่นสีแดงเล็ก ๆ สาก ๆ เป็นวงสีขาวขึ้นตามร่างกาย
*การป้องกัน ไข้เลือดออกมีวิธีการอย่างไร?
1. ป้องกันตนเองไม่ให้ยุงกัด เช่น การทายากันยุง สวมใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว และสวมถุงเท้า หรือการใส่เสื้อผ้าที่มีการเคลือบสารกันยุง
2. ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารป้องกันยุง (Mosquito repellents) ที่มีส่วนผสมของสาร DEET เพื่อป้องกันยุง
3. กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยเฉพาะบริเวณน้ำนิ่งและน้ำขัง ทั้งในและรอบบริเวณบ้าน ใช้ฝาปิดครอบภาชนะหรือถังขยะ
4. ปิดหน้าต่างไม่ให้ยุงเข้า ติดมุ้งลวดที่ประตู หรือนอนในมุ้งลวดเพื่อกันยุง
5. การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออก 4 สายพันธุ์ ชนิดใหม่ (New 4 serotype dengue fever vaccine) ซึ่งเป็นวัคซีนป้องกันไวรัสเดงกีรุ่นล่าสุดที่ถูกพัฒนาให้สามารถป้องกันได้ครอบคลุมทั้ง 4 สายพันธุ์ โดยสามารถเข้ารับการฉีดได้ตั้งแต่อายุ 4-60 ปี ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายเป็นปกติ รวมถึงคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานอายุตั้งแต่ 4 ปี ขึ้นไป สามารถพาบุตรหลานและทุกคนในครอบครัวเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกได้ที่โรงพยาบาลทุกแห่งที่มีวัคซีนไว้คอยบริการ
*การปฐมพยาบาลไข้เลือดออกเบื้องต้น มีวิธีการอย่างไร?
1. ทานยาแก้ปวด ลดไข้กลุ่มพาราเซตามอน หรือ ยาอะเซตามีโนเฟน ห้ามทานยาแอสไพริน ไอบูโพรเฟน หรือยากลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) เพราะอาจทำให้มีเลือดออกมากขึ้น
2. จิบน้ำเกลือแร่โอ อาร์ เอส (ORS) เพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำในร่างกาย โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการอาเจียนอย่างต่อเนื่อง
3. เช็ดตัวเป็นระยะด้วยน้ำอุ่น เพื่อช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย
4.ทานอาหารอ่อน อาหารที่ย่อยง่าย และดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ
5.หมั่นสังเกตอาการ หากมีไข้ขึ้นสูง และไม่ตอบสนองต่อยาแก้ปวด ควรรีบพบแพท

  
โดย admin (VIEW : 0)
โดย admin (VIEW : 0)
โดย admin (VIEW : 0)
โดย admin (VIEW : 0)
โดย admin (VIEW : 0)
โดย admin (VIEW : 0)
กำลังแสดงหน้าที่ 1/1 [จำนวน 6 รูปภาพ]
<< 1 >>