[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
องค์การบริหารส่วนตำบลตะโละแมะนายินดีต้อนรับทุกท่านครับ
เมนูหลัก
เมนูทั่วไป
ข้อมูลการดำเนินงาน
Okvee Bootstrap sidebar menu
ลิ้งเว็บไซด์ที่เกี่ยวข้อง
ลิ้งหน่วยงานอื่นๆ
Social Network
QR Code Line
อบต.ตะโละแมะนา

  
รายการ Gallery หน้าหลัก    
>> เดินรณรงค์ให้ความรู้และป้องกันการคลอดก่อนกำหนด ประจำปี 2567 ( 4/ก.ค./2567 )

     

วันที่ 4 กรกฎาคม 2567 เวลา 09.00 น. องค์การบริหารส่วนตำบลตะโละแมะนา ร่วมเดินรณรงค์ให้ความรู้และป้องกันการคลอดก่อนกำหนด  ประจำปี 2567
            @การป้องกันการคลอดก่อนกำหนด การคลอดก่อนกำหนดเป็นหาสำคัญทางด้านอนามัยของแม่และเด็ก แม้ว่าความเจริญทางการแพทย์จะสามารถช่วยให้เด็กที่คลอดออกมาก่อนกำหนดมีชีวิตอยู่รอดได้มากขึ้นกว่าในอดีต แต่ก็ยังพบว่ามีทารกอีกจำนวนมากที่มีความพิการหรือเสียชีวิต จึงมีความจำเป็นที่จะต้องป้องกันไว้ก่อน ดังนี้
1. ส่งเสริมสุขภาพของคุณแม่ให้ดีก่อนการตั้งครรภ์ เช่น ตั้งครรภ์ในอายุที่เหมาะสม (18-34 ปี),ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ,ดูแลตัวเองให้แข็งแรงเพื่อป้องกันโรคที่มีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด
2. เมื่อตั้งครรภ์แล้วควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อฝากครรภ์และปฏิบัติตนตามที่ได้รับคำแนะนำ รวมถึงไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้งอย่างสม่ำเสมอ
3. ในขณะตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ, งดสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์, หลีกเลี่ยงความเครียด, ลดการทำงานหนักหรือออกกำลังกายเป็นเวลานาน ๆ หรือยกของหนัก, ไม่เดินทางไกลหากไม่จำเป็น รวมถึงปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับผลกระทบของงานที่ทำอยู่ว่ามีผลต่อการคลอดก่อนกำหนดหรือไม่
4.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างสมดุล เป็นอีกวิธีที่ส่งผลดีต่อทั้งคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ แถมยังช่วยป้องกันการคลอดก่อนกำหนดได้ด้วย เพราะจากการศึกษาที่พบว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์น้อยหรือมีภาวะขาดสารอาหาร และมีการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวน้อยตลอดการตั้งครรภ์ จะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการคลอดก่อนกำหนด และยังพบว่าลักษณะนิสัยในการบริโภคอาหารและการได้รับอาหารเสริมในระหว่างการตั้งครรภ์ก็มีความสัมพันธ์กับการคลอดก่อนกำหนดด้วยเช่นกัน
5. ทานบ่อย ๆ นักวิจัยชี้ว่าสำหรับคุณแม่นั้นการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ยังไม่เพียงพอ แต่คุณแม่ควรรับประทานอาหารให้บ่อยครั้งมากขึ้น เป็นวันละ 5 ครั้ง โดยทานอาหารหลัก 3 มื้อ และอาหารว่างอีก 2 มื้อ หรือไม่ก็แบ่งอาหารเป็นมื้อเล็ก ๆ 5 มื้อ หากทำได้อย่างนี้ก็จะช่วยลดโอกาสเกิดการคลอดก่อนกำหนดได้
6. เสริมอาหารที่มีแคลเซียม นอกจากแคลเซียมจะมีส่วนช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและอาการแทรกซ้อนจากภาวะครรภ์เป็นพิษได้แล้ว การได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอในแต่ละวันยังช่วยป้องกันการคลอดก่อนกำหนดในผู้หญิงที่มีประวัติหรือมีความเสี่ยงสูงในเรื่องของโรคความดันโลหิตได้ด้วย คุณแม่จึงควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมให้เพียงพอในแต่ละวัน (โดยปกติแล้วคุณแม่ตั้งครรภ์ ร่างกายจะสูญเสียแคลเซียมวันละ 250 มิลลิกรัมไปในช่วงที่มีอายุครรภ์ 6-7 เดือน)
7. ดื่มน้ำเยอะ ๆ คุณแม่ควรดื่มน้ำได้วันละ 8 แก้ว หากอากาศร้อนหรือออกกำลังกายก็ควรจะดื่มน้ำให้มากขึ้นเพื่อรักษาความชุ่มชื่นของร่างกายและเพิ่มโอกาสให้คุณแม่อุ้มท้องจนถึงกำหนดคลอด เพราะการขาดน้ำจะทำให้เกิดการเจ็บท้องคลอดก่อนกำหนดได้เหมือนกัน
8. ทานวิตามินสำหรับการตั้งครรภ์ นอกจากจะช่วยให้คุณแม่และลูกน้อยในครรภ์แข็งแรงแล้ว ยังช่วยเพิ่มโอกาสให้คุณแม่อุ้มท้องจนครบกำหนดได้เช่นกัน แม้การกินวิตามินจะไม่สามารถทดแทนวิตามินจากการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ได้ แต่ก็ช่วยสร้างความสบายใจได้ว่าในแต่ละวันนั้นคุณแม่ได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนแล้ว
9. รักษาการติดเชื้อและการอักเสบต่าง ๆ เช่น เหงือกอักเสบ ฟันผุ ช่องคลอดอักเสบ การติดเชื้อในช่องคลอด ติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ ระบบทางเดินปัสสาวะอักเสบหรือมีตกขาวผิดปกติ มีอาการไอ เจ็บคอ ท้องเสีย ฯลฯ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้ทารกคลอดก่อนกำหนดอย่างรวดเร็วและเหมาะสม
10. ป้องกันการติดเชื้อของร่างกาย ด้วยการดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ไม่อั้นปัสสาวะ ควรถ่ายปัสสาวะทุก ๆ 2-4 ชั่วโมง เพราะการอั้นปัสสาวะบ่อย ๆ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะได้ อาการที่สังเกตเห็นได้อาจเป็นการสร้างความระคายเคืองต่อมดลูกและทำให้มดลูกบีบตัว นอกจากนี้ยังอาจทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ด้วย ควรดูแลรักษาสุขภาพช่องปากและฟัน เนื่องจากการอักเสบภายในช่องปาก เช่น โรคเหงือกอักเสบเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด คุณแม่จึงควรแปรงฟันให้สะอาดและใช้ไหมขัดฟันอยู่เสมอ
11. ระวังเรื่องน้ำหนักตัว น้ำหนักตัวของคุณแม่ในระหว่างตั้งครรภ์ที่เพิ่มมากเกินไปหรือน้อยเกินไป อาจเพิ่มปัจจัยเสี่ยงให้คุณแม่คลอดลูกก่อนกำหนดและลูกที่มีน้ำหนักตัวน้อยได้ คุณแม่จึงควรมีการเพิ่มน้ำหนักขึ้นในระดับที่เหมาะสม (โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 11.3-15.8 กิโลกรัม) แล้วคุณแม่จะมีแนวโน้มคลอดลูกได้ตามกำหนดคลอดและมีน้ำหนักตัวปกติ
12. พยายามหลีกเลี่ยงหรืองดมีเพศสัมพันธ์ เฉพาะในกรณีที่คุณแม่เคยมีประวัติการคลอดก่อนกำหนดมาก่อน โดยเฉพาะในช่วง 6 เดือนก่อนคลอด หลีกเลี่ยงการกระตุ้นหัวนม (เพราะทำให้เกิดความรู้สึกสุดยอด) เนื่องจากการมีเพศสัมพันธ์อาจเป็นสาเหตุทำให้มดลูกบีบตัว (เมื่อถึงจุดสุดยอดมักจะมีการเกร็งกล้ามเนื้อและมดลูกอาจหดรัดตัว) และยังอาจเป็นการนำเชื้อโรคเข้าสู่ปากมดลูกจนทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด หากมีเพศสัมพันธ์ควรใช้ถุงยางอนามัย เพราะน้ำอสุจิจะทำให้เกิดการหลั่งของสารเคมี “พรอสตราแกลนดิน” (Prostaglandins) ที่สามารถทำให้ปากมดลูกนุ่มขึ้นและกระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัว อย่างไรก็ตาม สารที่สร้างขึ้นมานี้ก็ไม่ได้มีมากพอจนทำให้คุณแม่เจ็บครรภ์คลอดได้ (ยกเว้นคนที่ใกล้จะคลอดอยู่แล้ว) คือไม่ได้ห้ามเสียทีเดียวครับ เพียงแต่คุณแม่ที่เคยคลอดก่อนกำหนดมาก่อนควรจะระวังหรือป้องกันเอาไว้
13. การใช้ยาลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อมดลูกตามที่สูติแพทย์แนะนำ เช่น Proluton depot ทุกสัปดาห์ ในช่วงการตั้งครรภ์ได้ 20-34 สัปดาห์กับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีเนื้องอกมดลูกหรือเคยมีประวัติการคลอดก่อนกำหนดมาก่อน 14. ทางเลือกอื่น เช่น การตรวจคัดกรองเพื่อดูว่าคุณแม่มีความเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนดหรือไม่, การใช้ฮอร์โมนเข้าช่วย เพราะมีงานวิจัยที่ระบุว่าฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนดในผู้หญิงที่เคยคลอดก่อนกำหนดได้ หากคุณแม่เคยคลอดก่อนกำหนดมาก่อน ควรลองปรึกษาแพทย์ดูครับว่าควรฉีดฮอร์โมนชนิดนี้หรือไม่ 15. หากมีปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้นควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสมและทันท่วงที หรือถ้าป้องกันแล้วยังเกิดการเจ็บครรภ์ก่อนกำหนดขึ้นอีก ก็ต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อให้ยาระงับการเจ็บครรภ์และให้การดูแลรักษาตามความเหมาะสมต่อไป

  
โดย admin (VIEW : 0)
โดย admin (VIEW : 0)
โดย admin (VIEW : 0)
โดย admin (VIEW : 0)
กำลังแสดงหน้าที่ 1/1 [จำนวน 4 รูปภาพ]
<< 1 >>